บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 2
วัน อังคาร ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2559
ความรู้ที่ได้รับ(The knowledge gained)
การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้ ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ
การสังเกต การจำ และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้ ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล
เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อสานข้อมูลประยุกต์
และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง
โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์
สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น 4 หน่วย ดังนี้
หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว
หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่
1 ถึงขั้นที่ 5 ดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดขอบเขตของ ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บ
ขั้นที่
4 วิเคราะห์ข้อมูล ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน
กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาปัญญาด้วยความสนุก เด็กต้องได้ปฏิบัติจริงและเป็นไปได้ เด็กควรเรียนรู้จากปรากฏการณ์ธรรมชาติจริงที่มีความเป็นไปได้ เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสและการกระทำ
การให้เด็กทำกิจกรรมเป็นการเสริมสัมผัสและการเรียนรู้ของเด็ก การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สำคัญต้องเน้นการคิด
การแก้ปัญหา การแสดงออกถึงพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก
ซึ่งสังเกตได้จากพฤติกรรม ต่อไปนี้
มีความสนใจเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
มีความอยากรู้อยากเห็น
มีพัฒนาการทางภาษาอย่างมาก
มีความสนใจค้นคว้าสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เด็กสัมผัส
การนำไปใช้
การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุ
การประเมิน
-
อาจารย์ สอนเข้าใจง่ายมีการยกตัวอย่างที่ชัดเจน
-
ผู้เรียน จดที่อาจารย์พูดและสรุปย่อบันทึกด้วยตัวเอง
-
บรรยากาศในห้องเรียน สภาพห้องเรียนหนาวดีเย็นสบาย
แต่บ้างครั้งก็มีกลิ่นแอร์แปลกๆเหมือนอับๆ
คำศัพท์ 5 คำ
Music เพลง
Record บันทึก
Perform ปฎิบัติการ
Child เด็ก
Game เกม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น