บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 6
วัน อังคาร ที่ 13 กันยายน พ.ศ.2559
ความรู้ที่ได้รับ
วงล้อหลากสี
อุปกรณ์
§
กาว
§
ไม้บรรทัด
§
ดินสอ
§
กรรไกร
§
เชือก
§
กระดาษ
§
สีไม้ (แดง,
ส้ม, เหลือง, เขียว,
ฟ้า, ม่วง คราม น้ำเงิน )
§
กระดาษลัง กระดาษ A4
§
แก้วน้ำพลาสติก
วิธีทำ
1.
ตัดกระดาษเป็นวงกลม
2.
จากนั้นนำแก้วน้ำพลาสติก คว่ำลง วาดลายตามขอบแก้วน้ำ
3.
จากนั้นนำไม้บรรทัด ขีดเส้น แบ่งเป็น 7 ส่วน
4.
ระบายสี(แดง,
ส้ม, เหลือง, เขียว,
ฟ้า, ม่วง คราม น้ำเงิน ) ลงในช่องทั้ง 7
5.
ตัดกระดาษ ตามแนววงกลม
6.
เจาะรูตรงกลาง 2 รู
7.
ตัดเชือกยาว 36 นิ้ว
8.
ร้อยเชือกลงไปในรู
9.
ผูกติดกัน
นำไปเล่นหมุนๆ ดึงๆ
กลายเป็นวงล้อหลากสี
หลักการทางวิทยาศสาสตร์
1. พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ
เคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น
ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง
2. พลังงานจลน์ (Kinetic
Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น
รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น
3. พลังงานสะสม (Stored
Energy) เป็นพลังงานที่เก็บสะสมในวสัดุ หรือ สิ่งของต่างๆ
เช่น พลังงานเคมีที่เก็บสะสมไว้ในอาหาร ในก้อนถ่านหิน น้ำมัน หรือไม้ฟืน
ซึ่งพลังดังกล่าว
จะถูกเก็บไว้ในรูปขององค์ประกอบทางเคมีหรือของวัสดุหรือสิ่งของนั้นๆ
และจะถูกปล่อยออกมาเมื่อวัสดุหรือสิ่งของดังกล่าวมีการเปลี่ยนรูป เช่น
การเผาไม้ฟืนจะให้พลังงานความร้อน เป็นต้น
แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว
ซึ่งประกอบด้วยแสง 7 สี ผสมอยู่ด้วยกัน เราสามารถใช้ปริซึมแยกลำแสงขาวออกเป็นแสงทั้ง
7 สีได้ โดยจะเห็นเป็นแถบของแสงสีทั้งหมดเรียงติดกัน เราเรียกว่า สเปกตรัม (Spectrum)
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำอธิบายและข้อเสนอแนะในของเล่นในแต่ละชิ้นของเพื่อน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจที่จะประดิษฐ์สื่อหรือของเล่นแต่ละคน
ประเมินตัวเอง
นำสื่อที่เพื่อนเสนอหน้าชั้นเรียนไปพัฒนาและต่อยอดในการเรียนภายข้างหน้าได้เช่นการนำไปประยุกต์ในการสอน
คำศัพท์น่ารู้
Survey การสำรวจ
glass กระจก
Surroundings สิ่งรอบตัว
Person บุคคล
Group กลุ่ม