พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 8
วัน  อังคาร   ที่ 27   กันยายน  พ.ศ.2559
สอบ,




บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 7
วัน  อังคาร   ที่ 20   กันยายน  พ.ศ.2559


ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์แจกกระดาษคัดลายมือ ครั้งที่ 3  อาจารย์ทบทวนและแยกกลุ่มของเล่นแต่ละคนและเสนอของเล่นกลุ่มแต่ละกลุ่มที่จะไปทำมาเสนอ  ต่อจากนนั้นอาจารย์แจกกระดาษ  A 4  คนละ 1 แผ่นและให้เอามือทาบลงไปบนกระดาษและให้เอาสีเมจิกวาดตามมือที่ทาบจะได้ฝามือของเราแล้วให้นำเอาสีเมจิกอีกสีวาดเส้นโค้งๆตามมือทั้งหมด 3 เส้น จะรู้สึกเหมือนว่ามือที่วาดด้วยปากกามันนู้นขึ้นเป็นเพราะรอยเส้นโค้ง









                         การทดลองเรื่องการไหลของน้ำ น้ำไหลที่สูงลงที่ต่ำ



                                      การทดลองระดับน้ำ



พับดอกไม้วางไปบนผิวน้ำทำให้ดอกไม้ที่พับบานออก











                                         ตัวอย่างสื่อของรุ่นพี่




                                             








คุณสมบัติของน้ำ

             น้ำจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสารต่างๆ ที่ละลายปะปนอยู่ในน้ำการที่มีสารต่าง ๆ ละลายปะปนอยู่ในน้ำ คุณสมบัติของน้ำมีรายละเอียดดังนี้

             1. คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำ   คือ ลักษณะทางภายนอกที่แตกต่างกัน เช่นความใส ความขุ่น กลิ่น สี เป็นต้น

              อุณหภูมิ (temperature) อุณหภูมิของน้ำมีผลในด้านการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีซึ่งจะส่งผลต่อการลดปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ

              - สี (color) สีของน้ำเกิดจากการสะท้อนแสงของสารแขวนลอยในน้ำ เช่น น้ำตามธรรมชาติจะมีสีเหลืองซึ่งเกิดจากกรดอินทรีย์ น้ำในแหล่งน้ำที่มีใบไม้ทับถมจะมีสีน้ำตาล หรือถ้ามีตะไคร่น้ำก็จะมีสีเขียว

               - กลิ่นและรส กลิ่นและรสของน้ำจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยหรือสารในกลุ่มของฟีนอล เกลือโซเดียมคลอไรด์ซึ่งจะทำให้น้ำมีรสกร่อยหรือเค็ม

              - ความขุ่น (turbidity) เกิดจากสารแขวนลอยในน้ำ เช่น ดิน ซากพืช ซากสัตว์

              - การนำไฟฟ้า (electical conductivity) บอกถึงความสามารถของน้ำที่กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของอิออนโดยรวมในน้ำ และอุณหภูมิขณะทำการวัดค่าการนำไฟฟ้า 





การไหลของน้ำในทางน้ำ
Streamflow
น้ำผิวดินมีความสำคัญมากกับมนุษย์ ทั้งในแง่ของพลังงาน การคมนาคม การชลประทาน แต่อย่างไรก็ดี ในศตวรรษที่ 16 มนุษย์จึงเริ่มเข้าใจว่า ทางน้ำเป็นแหล่งของน้ำไหลผ่านและน้ำใต้ดิน ซึ่งได้มาจากน้ำฝนและหิมะ น้ำไหลผ่านเริ่มจาก ชั้นบางๆแผ่ออกไป (broad sheet) และกลายเป็น ลำธาร (rill) และเป็น ทางน้ำ (stream) ต่อไป
การไหลของน้ำในทางน้ำ (Streamflow) การไหลของน้ำเป็นวิธีการในการเปิดช่องทางสู่ทะเล มหาสมุทร ภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง เวลาที่ใช้ในการเดินทางขึ้นอยู่กับความเร็วของสายน้ำซึ่งวัดในรูปของระยะทางที่น้ำเดินทางได้ต่อหน่วยของwbr> ทางน้ำบางสายมีความเร็วน้อยกว่า 0.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่บางสายน้ำอาจมีความเร็วถึง 32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การไหลของทางน้ำอย่างช้าๆ ที่เรียกว่า การไหลแบบชั้น (laminar flow) อนุภาคของน้ำในทางน้ำมีการเคลื่อนที่เป็นชั้นขนานกันไป ในแต่ละชั้นมีความเร็วเท่าๆกัน แต่อาจแตกต่างไปจากชั้นใกล้เคียง ในทางน้ำจะพบเห็นการไหลแบบนี้ได้ยาก แต่ถ้ามีการไหลในลักษณะนี้ จะสามารถสังเกตเห็นได้ในบริเวณใกล้ขอบของทางน้ำ แต่ทางน้ำส่วนใหญ่มักมีลักษณะการไหลแบบ การไหลปั่นป่วน (turbulent flow) ซึ่งความเร็วเพิ่มขึ้น ทำให้อนุภาคมีการไหลวนเวียน การเปลี่ยนแปลงการไหลจากการไหลเป็นชั้น ไปเป็น การไหลปั่นป่วน มีปัจจัยที่สำคัญคือความเร็ว ปัจจัยอื่นๆที่อาจเกี่ยวข้องประกอบด้วยคือ การลดลงของความหนืดของน้ำ การเพิ่มขึ้นของความลึก และความไม่ราบเรียบของทางน้ำ
การวัดค่าความเร็วของทางน้ำ จะวัดในหน่วยของระยะทางที่น้ำเดินทางได้ในหนึ่งหน่วยเวลา โดยการติดตั้งมาตรวัดหลายๆจุด ขวางลำน้ำและหาค่าเฉลี่ย ในทางน้ำสายตรง ความเร็วที่สูงสุดจะอยู่บริเวณตอนกลางของทางน้ำซึ่งเป็นบริเวณที่แรงต้านทานน้อยที่สุด เมื่อทางน้ำคดโค้ง บริเวณที่ทางน้ำมีความเร็วสูงสุด จะเป็นฝั่งด้านนอก
ความสามารถในการกร่อนและการพัดพาวัตถุขึ้นอยู่กับความเร็วของทางน้ำ ดังนั้นความเร็วจึงเป็นลักษณะที่สำคัญของทางน้ำ ความเร็วของทางน้ำที่เปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยทำให้ความสามารถพัดพาเอาตะกอนไปกับน้ำเปลี่ยนแปลงไปด้วย ปัจจัยหลายประการที่เป็นตัวกำหนดความเร็วของทางน้ำซึ่งก็เป็นตัวกำหนดความสามารถในการกร่อนของทางน้ำด้วย ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
1. ความลาดเอียง (gradient)
2. รูปร่าง ขนาด และความเรียบของทางน้ำ
3. อัตราน้ำไหล (discharge)
ความลาดเอียงของทางน้ำ เป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งในการควบคุมความเร็วของทางน้ำ ความลาดเอียงเป็นการลดระดับตามแนวดิ่งของทางน้ำในช่วงระยะทางหนึ่งๆ ที่กำหนด ความลาดเอียงของทางน้ำแต่ละสายอาจไม่เท่ากัน และในทางน้ำแต่ละสายค่าความลาดเอียง ก็เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงของทางน้ำ โดยปกติค่าความลาดเอียงของทางน้ำลดลงจาดต้นน้ำไปยังปลายน้ำ ทางน้ำที่มีค่าความลาดเอียงสูงย่อมมีพลังงานในการไหลสูงด้วย ถ้าทางน้ำสองสายซึ่งมีลักษณะเหมือนกันทุกประการยกเว้นค่าความลาดเอียง ทางน้ำสายที่มีค่าความลาดเอียงสูง จะมีความเร็วมากกว่า ทางน้ำสายที่มีค่าความลาดเอียงต่ำกว่า
รูปร่างภาพตัดขวางของทางน้ำเป็นตัวกำหนดปริมาณน้ำที่สัมผัสกับร่องน้ำซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับแรงเสียดทาน ทางน้ำซึ่งมีเส้นรอบวงน้อยจะเป็นทางน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง เมื่อเปรียบเทียบทางน้ำสองสายซึ่งมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากัน ทางน้ำที่มีภาพตัดขวางเป็นครึ่งวงกลมจะเป็นทางน้ำที่น้ำสัมผัสกับร่องน้ำน้อยและก็จะมีแรงเสียดทานน้อย ซึ่งก็เป็นผลให้น้ำไหลได้เร็ว
ขนาดและความราบเรียบของร่องน้ำ ก็มีผลกับปริมาณของแรงเสียดทาน ขนาดที่เพิ่มขึ้นของภาพตัดขวางของทางน้ำจะเป็นตัวที่ทำให้อัตราส่วนของเส้นรอบวงต่อพื้นที่หน้าตัดลดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการไหลของทางน้ำ ความราบเรียบของร่องน้ำเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เห็นผลได้ง่าย ร่องน้ำที่ราบเรียบทำให้การไหลของน้ำสม่ำเสมอ ในขณะที่ร่องน้ำที่ขรุขระซึ่งเต็มไปด้วยก้อนกรวดตามท้องน้ำ จะทำให้กระแสน้ำปั่นป่วนลดความสามารถในการไหลของน้ำ
อัตราน้ำไหลของทางน้ำเป็นปริมาณของน้ำที่ไหลผ่านจุดใดๆ ในช่วงเวลาที่กำหนด มักวัดในหน่วยของลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือลูกบาศก์ฟุตต่อวินาที ซึ่งอาจคำนวณได้จากผลคูณของพื้นที่หน้าตัดของทางน้ำกับความเร็วของทางน้ำ ปริมาณของน้ำในทางน้ำสายหนึ่งๆ มักไม่คงที่ อันเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนหรือหิมะที่ตกลงมาสู่พื้นดินไม่แน่นอน ปริมาณน้ำที่เปลี่ยนไปย่อมกระทบกับปัจจัยอื่นๆด้วย ถ้าปริมาณน้ำสูง ความกว้างและความลึกของทางน้ำย่อมสูงขึ้น หรืออาจทำให้น้ำมีความเร็วสูงขึ้นด้วย ซึ่งทางน้ำเองก็มีการปรับตัวเพื่อรองรับปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น โดยการขยายความกว้างของทางน้ำหรือเพิ่มความลึกของทางน้ำ ซึ่งเมื่อขนาดของทางน้ำเพิ่มขึ้น พื้นที่สัมผัสของน้ำกับร่องน้ำก็เพิ่มขึ้น เกิดแรงเสียดทาน ทำให้น้ำไหลช้าลง โดยปกติอัตราน้ำไหลมีค่าเพิ่มขึ้นไปทางปลายน้ำ



การประยุกต์ใช้
  นำความรู้ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนหรือส่งเสริมให้เข้ากับกิจกรรมในรายวิชาในอนาคตที่จะไปฝึกสอนรู้เพื่อเป็นพื้นฐานและนำหาความรู้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น
    

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนเข้าใจง่ายและมีการยกตัวอย่างที่ชัดเจน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนตั้งใจที่จะฟังอาจารย์และดูตัวอย่างสื่อที่อาจารย์เอามาให้ดู
ประเมินตัวเอง
ฟังอาจารย์อธิบายและยกตัวอย่างที่ชัดเจนไม่เข้าใจและถามอาจารย์ก็ตอบและยังให้เราไปหาคำตอบมาอีก


คำศัพท์น่ารู้


Water flow  การไหนของน้ำ
central   ศูนย์กลาง
gravity    โน้มถ่วง
plentiful  เหลือใช้

rotate   หมุน



วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 6
วัน  อังคาร   ที่ 13  กันยายน  พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ
วงล้อหลากสี
อุปกรณ์
§  กาว
§  ไม้บรรทัด
§  ดินสอ
§  กรรไกร
§  เชือก
§  กระดาษ
§  สีไม้ (แดง, ส้ม, เหลือง, เขียว, ฟ้า, ม่วง คราม น้ำเงิน )
§  กระดาษลัง  กระดาษ  A4
§  แก้วน้ำพลาสติก


วิธีทำ
1.           ตัดกระดาษเป็นวงกลม

2.           จากนั้นนำแก้วน้ำพลาสติก คว่ำลง วาดลายตามขอบแก้วน้ำ


3.           จากนั้นนำไม้บรรทัด ขีดเส้น แบ่งเป็น 7 ส่วน

4.           ระบายสี(แดง, ส้ม, เหลือง, เขียว, ฟ้า, ม่วง คราม น้ำเงิน ) ลงในช่องทั้ง 7

5.           ตัดกระดาษ ตามแนววงกลม

6.           เจาะรูตรงกลาง 2 รู

7.           ตัดเชือกยาว 36 นิ้ว
8.           ร้อยเชือกลงไปในรู
9.           ผูกติดกัน


นำไปเล่นหมุนๆ ดึงๆ กลายเป็นวงล้อหลากสี 

หลักการทางวิทยาศสาสตร์

 1. พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ เคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง
   2. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น
   3. พลังงานสะสม (Stored Energy) เป็นพลังงานที่เก็บสะสมในวสัดุ หรือ สิ่งของต่างๆ เช่น พลังงานเคมีที่เก็บสะสมไว้ในอาหาร ในก้อนถ่านหิน น้ำมัน หรือไม้ฟืน ซึ่งพลังดังกล่าว จะถูกเก็บไว้ในรูปขององค์ประกอบทางเคมีหรือของวัสดุหรือสิ่งของนั้นๆ และจะถูกปล่อยออกมาเมื่อวัสดุหรือสิ่งของดังกล่าวมีการเปลี่ยนรูป เช่น การเผาไม้ฟืนจะให้พลังงานความร้อน เป็นต้น
  แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว  ซึ่งประกอบด้วยแสง  7 สี  ผสมอยู่ด้วยกัน  เราสามารถใช้ปริซึมแยกลำแสงขาวออกเป็นแสงทั้ง  7  สีได้  โดยจะเห็นเป็นแถบของแสงสีทั้งหมดเรียงติดกัน เราเรียกว่า  สเปกตรัม (Spectrum) 



ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำอธิบายและข้อเสนอแนะในของเล่นในแต่ละชิ้นของเพื่อน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจที่จะประดิษฐ์สื่อหรือของเล่นแต่ละคน
ประเมินตัวเอง
นำสื่อที่เพื่อนเสนอหน้าชั้นเรียนไปพัฒนาและต่อยอดในการเรียนภายข้างหน้าได้เช่นการนำไปประยุกต์ในการสอน

  
คำศัพท์น่ารู้
Survey  การสำรวจ
glass กระจก
Surroundings  สิ่งรอบตัว
Person  บุคคล
 Group  กลุ่ม




วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 5
วัน  อังคาร   ที่ 6  กันยายน  พ.ศ.2559

อาจารย์ให้ไปห้องสมุดไปดูวิดีโอวิทยาศาสตร์เรื่องวิทยาศาสตร์
การทดลอง
1.กระดาษไม่เปียก
อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดทั้งไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และที่สำคัญสำหรับการดำรง ชีวิตของมนุษย์และบรรดาสัตว์ต่าง ๆ คือ ก๊าซออกซิเจน และยังมีก๊าซอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่กระจายตัวอยู่ในอากาศ พื้นที่ส่วน ใหญ่บนโลกล้วนแล้วแต่มีอากาศอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีปริมาณอากาศมากหรือน้อยแตกต่างกันไป เราสามารถพิสูจน์ได้ว่าอากาศนั้นอยู่รอบตัวเรา และยังมีแรงดันมหาศาลอีกด้วย กับการทดลอง ตอน อากาศนั้นต้องการที่อยู่
อุปกรณ์
1. แก้วน้ำใส 1 ใบ
2. กระดาษทิชชู่
3. เทปใส
4. อ่างน้ำบรรจุน้ำเกือบเต็ม
วิธีการทดลอง
1. ยึดกระดาษทิชชู่ให้ติดกับก้นแก้วด้านในด้วยเทปใส
2. คว่ำปากแก้วแล้วกดลงในน้ำตรง ๆ ให้แก้วน้ำทั้งใบจมอยู่ใต้น้ำ อย่าให้แก้วเอียง น้ำอาจเข้าไปในแก้วได้ 3. นับ 1 – 10 แล้วค่อย ๆ ยกแก้วน้ำที่คว่ำอยู่ขึ้นมาตรง ๆ
ผลการทดลอง
เมื่อคลี่กระดาษทิชชู่ที่อยู่ในแก้วน้ำออกมาดู กระดาษไม่เปียกน้ำเลย นั่นเป็นเพราะว่า น้ำในอ่างเข้าไปในแก้วน้ำไม่ได้ เนื่องจากในแก้วมีอากาศอยู่เต็ม และอากาศเหล่านี้จะมีความดันที่จะดันน้ำไม่ให้เข้าไปในแก้วได้ สามารถพิสูจน์ได้ว่าในแก้วมีอากาศอยู่จริง โดยใช้แก้วเปล่าอีกใบหนึ่งที่ไม่มีกระดาษทิชชู ค่อย ๆ คว่ำแก้วลงในน้ำจนแก้วทั้งใบอยู่ใต้น้ำ แล้วลองเอียงแก้ว จะพบว่าบริเวณผิวน้ำจะมีฟองอากาศพุ่งขึ้นมา ฟองอากาศนั้นก็คืออากาศที่เคยอยู่ในแก้วนั่นเอง หลังจากที่อากาศออกมาจากแก้วน้ำแล้ว น้ำในอ่างก็จะเข้าไปอยู่แทนที่ หากทำการทดลองแล้วพบว่า กระดาษเปียก ให้ลองทำดูอีกครั้ง คราวนี้พยายามอย่าเอียงแก้วน้ำ เพราะการเอียงแก้วน้ำจะทำให้น้ำสามารถไหลเข้าไปแทนที่อากาศในแก้วได้ 






2.ไข่ต้มในขวดปากแคบ


1.ไข่ต้ม 1 ฟอง (แกะเปลือกแล้ว)    
2.ขวดปากแคบ 1 ขวด 
3.
ไม้ขีดไฟ 1 อัน               
เตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้วมาเริ่มทำการทดลองกันเลย !!!
ขั้นตอนที่ 1 : จุดไม้ขีดไฟแล้วใส่ลงไปในขวดปากแคบ
ขั้นตอนที่ 2 : วางไข่ต้มบนปากขวด
ขั้นตอนที่ 3 : รอจนกว่าไม้ขีดไฟจะดับ
แล้วจากนั้นไข่ต้มก็จะตกลงไปในขวด !!!
สงสัยกันมั้ยว่าทำไมไข่ต้มถึงลงไปในขวดได้? งั้นเรามาดูหลักการกันดีกว่า...
=>
ทำไมเวลาใส่ไม้ขีดไฟที่จุดไฟแล้วลงไปในขวดและเมื่อไฟดับไข่ต้มจึงตกลงไปในขวดได้?
เพราะความดันบรรยากาศนั่นเอง เมื่อขวดได้รับความร้อนจากไม้ขีดไฟ อากาศภายในขวด
ก็จะขยายตัว พอไฟดับแล้ว อากาศภายในขวดจะเย็นลงและหดตัว ทำให้ความดันบรรยากาศ
ภายในต่ำกว่าภายนอกขวด และเพราะอากาศมีคุณสมบัติในการไหลจากความดันสูงไปหา
ความดันต่ำ ดังนั้นไข่ต้มจึงถูกแรงดันจากบรรยากาศภายนอกบีบเข้าไปในขวด
และไข่ต้มก็จะตกลงไปในขวด