พุยพุย

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 3

วัน  อังคาร   ที่ 23  สิงหาคม  พ.ศ.2559

 

ความรู้ที่ได้รับ

      คุณลักษณะตามวัยเป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติเมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้นๆ ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 - 5 ปี
เด็กอายุ 3 ปี 

พัฒนาการด้านร่างกาย                                                    
 
 กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได
รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
ใช้กรรไกรมือเดียวได้

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
ชอบจะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและรับคำชม
กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง


พัฒนาการด้านสังคม

รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
ชอบเล่นเเบบคู่ขนาน
เล่นสมมติได้
รู้จักการรอคอย

   พัฒนาการด้านสติปัญญา

สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้
บอกชื่อของตนเองได้
ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องประโยคสั้นๆได้


เด็กอายุ 4 ปี

พัฒนาการด้านร่างกาย

กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้


พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมบางสถานการณ์
เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
ชอบท้าทายผู้ใหญ่


พัฒนาการด้านสังคม
เล่นร่วมกับคนอื่นได้
รอคอยตามลำดับก่อนหลัง
แบ่งของให้คนอื่น
เก็บของเล่นเข้าที่ได้

พัฒนาการด้านสติปัญญา
จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
พยายามแก้ไขด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องเป็นประโยคต่อเนื่องได้


เด็กอายุ 5 ปี

พัฒนาการด้านร่างกาย

กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้เหมาะสม
ชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง


พัฒนาการด้านสติปัญญา
บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้สิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
บอกชื่อและนามสกุลและอายุของตนเองได้
พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง

                            ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ของพาฟลอฟ (Pavlov) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข 

 1.เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR) ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR) การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์






การเรียนรู้แบบองค์รวม














บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 2

วัน  อังคาร   ที่ 16  สิงหาคม  พ.ศ.2559

 

ความรู้ที่ได้รับ(The knowledge gained)
การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง
โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน  รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์  สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้ 
                        หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว
                        หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
                        หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
                        หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท

ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
         การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่  1  ถึงขั้นที่  5  ดังนี้
                ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของ                ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน                  ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บ

                ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล                  ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน  


              กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมการเรียนรู้  และพัฒนาปัญญาด้วยความสนุก  เด็กต้องได้ปฏิบัติจริงและเป็นไปได้  เด็กควรเรียนรู้จากปรากฏการณ์ธรรมชาติจริงที่มีความเป็นไปได้  เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสและการกระทำ

การให้เด็กทำกิจกรรมเป็นการเสริมสัมผัสและการเรียนรู้ของเด็ก  การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สำคัญต้องเน้นการคิด  การแก้ปัญหา  การแสดงออกถึงพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก  ซึ่งสังเกตได้จากพฤติกรรม  ต่อไปนี้
                 มีความสนใจเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ  รอบตัว
                 มีความอยากรู้อยากเห็น
                 มีพัฒนาการทางภาษาอย่างมาก
                 มีความสนใจค้นคว้าสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เด็กสัมผัส

การนำไปใช้
การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุ
การประเมิน 
 -     อาจารย์ สอนเข้าใจง่ายมีการยกตัวอย่างที่ชัดเจน
-                   ผู้เรียน       จดที่อาจารย์พูดและสรุปย่อบันทึกด้วยตัวเอง
-                   บรรยากาศในห้องเรียน  สภาพห้องเรียนหนาวดีเย็นสบาย แต่บ้างครั้งก็มีกลิ่นแอร์แปลกๆเหมือนอับๆ
คำศัพท์ 5  คำ

Music   เพลง
Record    บันทึก
Perform   ปฎิบัติการ
Child   เด็ก
Game  เกม
   








บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 1
วัน  อังคาร   ที่  9  สิงหาคม  พ.ศ.2559

อาจารย์แนะแนวการเรียนการสอนเรื่องกฎเกณฑ์การให้คะแนนมอบหมายงานคือการทำบล์อก  Blogger
-                   ชื่อคำอธิบาย ตารางเรียน
-                   หน่วยงานสนับสนุน แนวการสอน
-                   งานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-                   บทความวิทยาศาสตร์ การเขียนสรุปอนุทิน
-                   โครงสร้างบล์อกเกอร์ทั้งหมด
บันทึกคำศัพท์ 5  คำ

1.   science วิทยาศาสตร์

                  2. calendar ปฏิทิน
       3. evaluation  การประเมิน
       4. friend    เพื่อน
       5.  me    ฉัน