พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  17
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการสอนต่ออาทิตย์ที่แล้วกลุ่มที่จะสอนในวันนี้มี
หน่วยอากาศ
หน่วยยานพาหนะ
หน่วยดอกไม้
หน่วยอากาศ (คุณสมบัติ)






หน่วย ยานพาหนะ (ปัจจัย)





หน่วยดอกไม้





การนำไปประยุกต์ใช้

           เป็นตัวอย่างในการฝึกสอนในอนาคตเรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การทดลอง การสังเกต เป็นต้น

การประเมิน

ประเมินตนเอง   ตั้งใจดูที่เพื่อนสอนและจดตามที่อาจารย์อธิบาย

ประเมินเพื่อน   เพื่อนมีการเตรียมตัวที่ดีมาสอนและตั้งใจดูเพื่อนที่ออกไปสอน

ประเมินอาจารย์   อาจารย์เป็นคนน่ารัก อธิบายในสิ่งที่เราไม่เข้าใจ

คำศัพท์
Flower   ดอกไม้
Earth  โลก
the Sun    พระอาทิตย์
egg   ไข่ 
fish     ปลา









วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



บันทึกอนุทิน
                                                                   ครั้งที่ 16
วัน อังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 


ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้กลุ่มที่แก้เรื่องคลิปวิทยาศาสตร์นำเสนออีกครั้งและอาจารย์ให้นั่งจับกลุ่มที่ทำกันตามคลิปว่ามีขั้นตอนการสอนเป็นเช่นไรบ้าง
ต่อจากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ของแต่ละกลุ่มออกมากลุ่มของเราคิดเรื่อง sky true ทำให้เกิดมีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
และคาบนี้เป็นคาบสุดท้ายอาจารย์เลยอวยพรขอให้ทุกคนสอบได้เกรดดีๆได้สมใจ
ก่อนจะปล่อยน.. อาจารย์สอนเรื่องควรไหว้ผู้ใหญ่ก่อนออกจากบ้านด้วยเป็นการทำความเคารพ








การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปสอนจริงๆได้ตอนที่เรานั้นออกฝึกสอน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนตั้งใจที่จะฟังอาจารย์และยอมรับข้อเสนอ
ประเมินตัวเอง
เราก็ตั้งใจฟังเพื่อนๆที่สอนอยู่และฟังอาจารย์ที่คอยแนะนำเพื่อนๆ
ประเมินอาจารย์

อาจารย์คอยเตือนคอยบอกและแนะนำให้ดีเพิ่มขึ้น





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 

ความรู้ที่ได้รับ


กิจกรรมการเรียนการสอนของวันนี้ อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มสอนจริงๆหน้าห้องเรียนและอาจารย์จะเสริมปรับแต่งให้

วันจันทร์ กลุ่มที่ 1 เรื่องผลไม้ (ชนิด)

                                               วันอังคาร กลุ่มที่ 2 หน่วยไข่ (ลักษณะ)



                                    วันพุธ กลุ่มที่ 3 หน่วยต้นไม้ (การเจริญเติบโตของต้นไม้)





                                       วันพฤหัสบดี กลุ่มที่ 4 หน่วยปลา (ประโยชน์)


ฐานที่ 1 การตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมเพื่อเอาไว้ซับน้ำมัน
ฐานที่ 2 หั่นเนื้อปลาเป็น 2 ส่วน แบบไหนก็ได้
ฐานที่ 3 นำเนื้อปลาที่หั่นแล้วไปชุบแป้ง
ฐานที่ 4 เป็นการทอดปลา (ฐานนี้เด็กจะได้บรูณาการวิทยาศาสตร์โดยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเนื้อปลา)





คำศัพท์

Science   วิทยาศาสตร์
Language    ภาษา
Harmonious   สามัคคีกัน
Want to know   ใฝ่รู้
Integration   บูรณาการ


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปสอนจริงๆได้ตอนที่เรานั้นออกฝึกสอน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนตั้งใจที่จะฟังเพื่อนกลุ่มอื่นๆสอน
ประเมินตัวเอง
เราก็ตั้งใจฟังเพื่อนๆที่สอนอยู่และฟังอาจารย์ที่คอยแนะนำเพื่อนๆ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์คอยเตือนคอยบอกและแนะนำให้ดีเพิ่มขึ้น




วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559




บันทึกอนุทิน

ครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนที่อาจารย์มอบหมายเมื่ออาทิตย์ที่แล้วที่ให้แก้ไขคลิปของเล่นวิทยาศาสตร์
มานำเสนอหน้าห้องเรียน


 1. ขวดน้ำนักขนของ





2.คานดีดจากไม้ไอติม





กิจกรรมต่อมาอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการสอนทีละขั้นตอนของแต่ละวันเพื่อที่อาจารย์จะช่วยในเรื่องการแก้ไขปรับปรุงปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมและดียิ่งมากขึ้นเพื่อเป็นไปตามขั้นตอนที่เหมาะสม

หน่วยต้นไม้
หน่วยไข่
หน่วยดอกไม้
หน่วยยานพาหนะ
หน่วยปลา
หน่วยอากาศ
หน่วยผลไม้

กล่มดิฉัน หน่วยปลา
วันจันทร์ สอนประเภท  -  เพลง
วันอังคาร สอนลักษณะ -  ปริศนาคำทาย
วันพุธ สอนปัจจัยการดำรงชีวิต - จิ๊กซอ
วันพฤหัสบดี สอนประโยชน์  -  คำคล้องจอง
วันศุกร์ สอนด้วยนิทาน  (ดิฉันสอนวันศุกร์)

         ต่อจากนั้นที่เพื่อนๆในห้องเรียนได้อธิบายเรื่องแผนการสอนกันครบทุกกลุ่มแล้วอาจารย์ให้แตะละกลุ่มจับฉลากเพื่อที่จะต้องมาสอนจริงๆในอาทิตย์ถัดไป กลุ่มดิฉันได้วันพฤหัสบดี เกี่ยวกับประโยชน์ของปลา 


การนำไปประยุกต์ใช้

คิดว่าเนื้อหาหรือแผนการสอนของแต่ละกลุ่มเสนอมาสามารถนำไปใช้จริงได้เมื่อเราฝึกสอนในภายภาคหน้า

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆทั้งห้องตั้งใจเรียนอาจารย์บอกในเรื่องปรับปรุงเพื่อนๆก็นำไปปรับปรุงแก้ไข้

ประเมินตัวเอง

เข้าเรียนตรงเวลาและไปช่วยอาจารย์ถือของ

ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์เป็นคนที่มีเหตุผล สอนก็ยกตัวอย่างประกอบตามเสมอ

air             อากาศ
all             ทั้งหมด
day           วัน
differ      แตกต่าง
direct     ควบคุม



วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2559
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำเสนอคลิปวิดีโอประดิษฐ์ของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์ให้แต่กลุ่มอัฟวิดีโอลง Youtube  เพื่อการศึกษา
 กลุ่มที่1.หลอดมหษจรรย์ (กลุ่มของดิฉัน) 

กลุ่มที่2. รถพลังงานลม


กลุ่มที่3. ขวดน้ำนักขนของ




กลุ่มที่4.คาดดีดจากไม้ไอติม
(ไม่พบวิดีโอ)


อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการทำแผ่นชาร์ตที่ถูกต้องตัวอย่างเช่น  
1. ด้านร่างกาย
·                     การเคลื่อนไหว
·                     สุขภาพอนามัย
·                     การเจริญเติบโต
2. ด้านอารมณ์และจิตใจ
·                     การแสดงออกทางความรู้สึก
·                     การยอมรับความรู้สึกของผู้อื่น
·                     3. ด้านสังคม
·                     การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
·                     การช่วยเหลือตนเอง
4. ด้านสติปัญญา
·                     การคิด
·                     ภาษา

เมื่อแต่ละกลุ่มนำเสนองานของแต่ละกลุ่มเสร็จเรียบร้อยแล้อาจารย์ให้เพื่อนๆแต่ละคนบอกข้อดีข้อเสียของวิดีโอแต่ละกลุ่มของเพื่อนและอาจารย์ก็บอกว่าการที่จะใช้ตัวหนังสือควรใช้ตัวหนังสือหัวกลมไม่ควรใช้หนังวัยรุ่นเพราะเราเป็นครูเด็กอนุบาล
             กิจกรรมต่อไปอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มที่เคยร่วมกันทำงานนั้นระดมสมองการจัดแผนการสอนของหน่วยตัวเองการสอนบูรณาการทั้งหมด 6 สาระ



คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1           เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2           เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3           ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.4           เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค 2.1           เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค 2.2           แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1           อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค 3.2           ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial
reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model)
ในการแก้ปัญหา
สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1           เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค 4.2           ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ 
(mathematical  model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจน
แปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1           เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค 5.2           ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3           ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1           มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ
ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์
วิทยาศาสตร์
ทักษะ
การสังเกต
การจำแนก
การวัด
การคำนวณ
ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา
การจัดกระทำ
การสื่อความหมายข้อมูล การพยากรณ์

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1. 1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบ ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่ง มีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้อง ถิ่นอย่างยั่งยืน

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากร ธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและ สิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์

ภาษา
·                     ฟัง
·                     พูด
·                     อ่าน
·                     เขียน
ศิลปะ
·      ฉีก ตัด ปะ
·                     ปั้น
·                     ประดิษฐ์                 
วาดภาพ ระบายสี
·                
·                     เล่นกับสี
·                     พิมพ์ พับ
สังคม
·                     การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
·                     การมีมารยาท
·                     การช่วยเหลือตนเอง
สุขศึกษา พลศึกษา
·                     การเคลื่อนไหว
·                     สุขภาพอนามัย
·                     การเจริญเติบโต



ภาพกิจกรรม






การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้ภายหน้าได้ที่อาจารย์สอนอาจจะนำไปดัดแปลงเพื่อเข้ากับสถานการณ์ในตอนนั้น
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนจดบันทึก                    
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกๆคนและแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมสมองคิดกิจกรรมงานของแต่ละกลุ่ม
ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งตัวสุภาพการสอนอาจารย์คอยแนะนำ แก้ไข และชี้แนะ
.