พุยพุย

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2559
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำเสนอคลิปวิดีโอประดิษฐ์ของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์ให้แต่กลุ่มอัฟวิดีโอลง Youtube  เพื่อการศึกษา
 กลุ่มที่1.หลอดมหษจรรย์ (กลุ่มของดิฉัน) 

กลุ่มที่2. รถพลังงานลม


กลุ่มที่3. ขวดน้ำนักขนของ




กลุ่มที่4.คาดดีดจากไม้ไอติม
(ไม่พบวิดีโอ)


อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการทำแผ่นชาร์ตที่ถูกต้องตัวอย่างเช่น  
1. ด้านร่างกาย
·                     การเคลื่อนไหว
·                     สุขภาพอนามัย
·                     การเจริญเติบโต
2. ด้านอารมณ์และจิตใจ
·                     การแสดงออกทางความรู้สึก
·                     การยอมรับความรู้สึกของผู้อื่น
·                     3. ด้านสังคม
·                     การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
·                     การช่วยเหลือตนเอง
4. ด้านสติปัญญา
·                     การคิด
·                     ภาษา

เมื่อแต่ละกลุ่มนำเสนองานของแต่ละกลุ่มเสร็จเรียบร้อยแล้อาจารย์ให้เพื่อนๆแต่ละคนบอกข้อดีข้อเสียของวิดีโอแต่ละกลุ่มของเพื่อนและอาจารย์ก็บอกว่าการที่จะใช้ตัวหนังสือควรใช้ตัวหนังสือหัวกลมไม่ควรใช้หนังวัยรุ่นเพราะเราเป็นครูเด็กอนุบาล
             กิจกรรมต่อไปอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มที่เคยร่วมกันทำงานนั้นระดมสมองการจัดแผนการสอนของหน่วยตัวเองการสอนบูรณาการทั้งหมด 6 สาระ



คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1           เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2           เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3           ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.4           เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค 2.1           เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค 2.2           แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1           อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค 3.2           ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial
reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model)
ในการแก้ปัญหา
สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1           เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค 4.2           ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ 
(mathematical  model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจน
แปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1           เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค 5.2           ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3           ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1           มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ
ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์
วิทยาศาสตร์
ทักษะ
การสังเกต
การจำแนก
การวัด
การคำนวณ
ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา
การจัดกระทำ
การสื่อความหมายข้อมูล การพยากรณ์

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1. 1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบ ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่ง มีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้อง ถิ่นอย่างยั่งยืน

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากร ธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและ สิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์

ภาษา
·                     ฟัง
·                     พูด
·                     อ่าน
·                     เขียน
ศิลปะ
·      ฉีก ตัด ปะ
·                     ปั้น
·                     ประดิษฐ์                 
วาดภาพ ระบายสี
·                
·                     เล่นกับสี
·                     พิมพ์ พับ
สังคม
·                     การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
·                     การมีมารยาท
·                     การช่วยเหลือตนเอง
สุขศึกษา พลศึกษา
·                     การเคลื่อนไหว
·                     สุขภาพอนามัย
·                     การเจริญเติบโต



ภาพกิจกรรม






การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้ภายหน้าได้ที่อาจารย์สอนอาจจะนำไปดัดแปลงเพื่อเข้ากับสถานการณ์ในตอนนั้น
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนจดบันทึก                    
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกๆคนและแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมสมองคิดกิจกรรมงานของแต่ละกลุ่ม
ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งตัวสุภาพการสอนอาจารย์คอยแนะนำ แก้ไข และชี้แนะ
.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น